วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (การตั้งค่า และความหมายของ Bios )

การตั้งค่า และความหมายของ Bios

           โดยปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ใน BIOS บ่อยนัก ยกเว้นเมื่อเราต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์
   ใหม่ ๆ เช่น CPU, RAM หรือ Hard Disk เป็นต้น

   การเข้าสู่ BIOS Setup Mode

           สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS
   ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้าไป
   ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่องจะตั้งไว้
   อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น "Press DEL Key to Enter BIOS Setup" เป็นต้น

           ปุ่ม Key ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการ Setup BIOS ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเดียวกัน โดยจะมีรูปแบบทั่วไปดังนี้

              - Up, Down, Left, Right ใช้สำหรับเลื่อนเมนูตามต้องการ 
              - Page Up, Page Down ใช้สำหรับเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าตามต้องการ   
              - ESC Key ใช้สำหรับย้อนกลับไปเมนูแรกก่อนหน้านั้น
              - Enter Key ใช้สำหรับเลือกที่เมนูตามต้องการ
              - F1, F2 ถึง F10 ใช้สำหรับการทำรายการตามที่ระบุในเมนู BIOS Setup

   ตัวอย่างการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS Setup

           สำหรับตัวอย่างต่อไปนี้ผมนำมาให้ดูแบบรวมทั่ว ๆ ไปของ BIOS เท่าที่หาข้อมูลได้นะครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคล้าย ๆ กัน เริ่มจากหลังจากที่กด DEL หรือ Key
   อื่น ๆ ขณะเปิดเครื่องเพื่อเข้าสู่ BIOS Setup Mode โดยปกติแล้ว ถ้าหากเป็นการตั้งค่าครั้งแรก หลังจากที่ทำการ Reset CMOS แล้ว ก็เลือกที่เมนู Load BIOS
   Default Setup หรือ Load BIOS Optimal-performance เพื่อเลือกการตั้งค่าแบบกลาง ๆ ของอุปกรณ์ทั่วไปก่อน จากนั้นจึงมาทำการเลือกแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่ละ
   ค่าตามเมนูต่อไปนี้

Standard CMOS Setup


 Date และ Time ใส่ วันที่ และ เวลา ปัจจุบัน
 Hard Disk กำหนดขนาดของ HDD (Hard Disk) ว่ามีขนาดเท่าไร โดยเลือกตั้งค่าเองแบบ User, แบบอัตโนมัติ Auto หรือไม่ได้ติดตั้งก็เลือกที่ None
 Primary / Master อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Master
 Primary / Slave อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Slave
 Secondary / Master อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Master
 Secondary / Slave อุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Slave
    - Cyls จำนวน cylinders ใส่ตามคู่มือ HDD
    - Heads จำนวน heads ใส่ตามคู่มือ HDD
    - Precomp write precompensation cylinder ไม่ต้องกำหนดหรือใส่ตามคู่มือ HDD
    - Landz landing zone ไม่ต้องกำหนด หรือใส่ตามคู่มือ HDD
    - Sectors จำนวน sectors ใส่ตามคู่มือ HDD
 Mode ถ้าหากทราบค่าที่แน่นอนให้ใส่เป็น User แต่ถ้าไม่แน่ใจ ให้ตั้ง Auto ไว้
    - Auto BIOS จะทำการตรวจสอบและตั้ง Mode ของ HDD อัตโนมัติ
    - Normal สำหรับ HDD ที่มี clys,heads,sectors ไม่เกิน 1024,16,63
    - Large สำหรับ HDD ที่มี cyls มากกว่า 1024 แต่ไม่ support LBA Mode
    - LBA Logical Block Addressing สำหรับ HDD ใหม่ ๆ จะมีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า
 Drive A: B: ชนิดของ Diskette Drives ที่ติดตั้งใช้งาน 360K, 720K, 1.2M หรือ 1.44M
 Video ชนิดของจอแสดงภาพ (ปกติจะเป็น EGA/VGA)
 Halt On กำหนดการ Stop หากพบ Error ขณะที่ POST (Power-On Seft Test)
    - All errors การ POST จะหยุดและแสดง prompts ให้เลือกการทำงานต่อไปทุก Error
    - All, But Key การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error
    - All, But Disk การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Disk Drive Error
    - All, But Disk/Key การ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error หรือ Disk Error
 Memory จะแสดงขนาดของ Memory ที่ใส่อยู่ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
    - Base Memory โดยปกติจะเป็น 640K สำหรับ DOS
    - Extended คือ Memory ในส่วนที่สูงกว่า 1M ขึ้นไป
    - Other Memory หมายถึงส่วนของระหว่าง 640K ถึง 1M

 
 BIOS Features Setup   
   
 Virus Warning การเตือนเมื่อมีการเขียนข้อมูลทับ Boot Record ของ HDD [Enabled]
 CPU Int / Ext cache การใช้งาน CPU Internal / External Cache [Enabled]
 CPU L2 Cache ECC Check การใช้ External Cache แบบ ECC SRAMs
 Quick Power On Seft Test การทำ POST แบบเร็ว [Enabled]
 Boot Sequence   เลือกลำดับของการบูทเช่นจาก C:, A: หรือ IDE-0, IDE-1 [C: A:] 
 Swap Floppy Disk  กำหนดการสลับตำแหน่ง Drive A: เป็น Drive B: [Disabled] 
 Boot Up Floppy Seek การตรวจสอบชนิดของ Disk Drive ว่าเป็นแบบใด [Disabled]
 Boot Up NumLock Status กำหนดการทำงานของ Key NumLock หลังจากเปิดเครื่อง [Disabled]
 Boot Up System Speed กำหนดความเร็ว CPU หลังจากเปิดเครื่อง [High]
 Gate A20 Option การเข้าถึง Address memory ส่วนที่สูงกว่า 1M [Fast]
 Typematic Rate Setting กำหนดความเร็วของการกด Key [Enabled]
 Typematic Rate (Chars/Sec) กำหนดความเร็วของการกด Key [6]
 Typematic Delay (Msec) กำหนดค่า delay ของการกด Key [250]
 Security Option กำหนดการตั้งรหัสผ่านของการ Setup BIOS หรือ System [Setup]
 PS/2 Mouse Control กำหนดการใช้งาน PS/2 Mouse [Disabled]
 PCI/VGA Palette Snoop แก้ปัญหาการเพี้ยนของสีเมื่อใช้การ์ดวีดีโออื่น ๆ ร่วมด้วย [Disabled]
 Assign IRQ for VGA กำหนดการใช้ IRQ ให้กับการ์ดจอ [Enabled]
 OS Select for DRAM > 64M การกำหนดหน่วยความจำสำหรับ OS2 [Non-OS]
 HDD S.M.A.R.T capability Self-Monitering Analysis and Reporting Technology ควรเลือก [Enabled]
 Video BIOS Shadow กำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดแสดงผล C0000-C4000 ควรเลือก [Enabled
 Adapter ROM กำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดที่เสียบเพิ่มเติม
    - C8000 ใช้กับการ์ดแสดงผลชนิด MDA (จอเขียว)
    - CC000 ใช้กับการ์ด controller บางประเภท [Disabled]
    - D0000 ใช้กับการ์ด LAN [ถ้าไม่ใช้ตั้ง Disabled]
    - D4000 ใช้กับ controller สำหรับ Disk Drive ชนิดพิเศษ [Disabled]
    - D8000 ตั้ง [Disable]
    - DC000 ตั้ง [Disable]
    - E0000 ตั้ง [Disable]
    - E4000 ตั้ง [Disable]
    - E8000 ตั้ง [Disable]
 System ROM การทำ Shadow กับ ROM ของ BIOS ที่ F000 [Enabled]
   
 Chipset Features Setup   

 
 Auto Configuration คือให้ BIOS จัดการค่าต่างๆโดยอัตโนมัติซึ่งจะเป็นค่ากลาง ๆ
Hidden Refresh การเติมประจุไฟของ DRAM [Enabled]
 Slow Refresh ให้ DRAM ลดความถี่ในการเติมประจุไฟลง 2 - 4 เท่า [เลือก Enabled ถ้าไม่มีปัญหาในการใช้งาน]
 Concurrent Refresh การอ่าน-เขียนข้อมูล ได้พร้อมๆกับการเติมประจุไฟใน DRAM [เลือก Enabled ถ้าไม่มีปัญหาในการใช้งาน]
 Burst Refresh การเติมประจุไฟลง DRAM ได้หลายๆ รอบในการทำงานครั้งเดียว [เลือก Enabled ถ้าไม่มีปัญหาในการใช้งาน]
 DRAM Brust at 4 Refresh จำนวนการ Burst Refresh เป็น 4 รอบในการทำงาน 1ครั้ง [Enabled]
 Staggered Refresh การเติมประจุล่วงหน้าใน DRAM ใน Bank ถัดไปด้วย [Enabled]
 Refresh RAS Active Time ให้ทดลองกำหนดค่าน้อยที่สุดเท่าที่เครื่องจะสามารถทำงานได้
 AT Cycle Wait State เวลาที่รอให้การ์ด ISA พร้อม ให้ตั้งค่าที่น้อยสุดเท่าที่เครื่องทำงานได้
 16-Bit Memory, I/O Wait State เวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
8-Bit Memory, I/O Wait State เวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ให้ตั้งน้อยสุดที่ทำงานได้
DMA Clock Source กำหนดความเร็วของอุปกรณ์ DMA โดยมีค่าปกติคือ 5 MHz
 Memory Remapping หากเปิดการทำงานนี้ไว้จะทำ Shadows กับ BIOS ใดๆ ไม่ได้ [Disable]
 Cache Read Hit Burst หรือ SRAM Read  Wait State ระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
 Cache Write Hit Burst หรือ SRAM Write  Wait State ระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
 Fast Cache Read / Write ให้แคชทำงานโหมดความเร็วสูง จะมีผลเมื่อแคชมีขนาด 64 KB หรือ 256 KB
 Tag Ram Includes Ditry ให้แคชทำงานในโหมดเขียนทับโดยไม่ต้องย้าย/ลบข้อมูลเดิมออกก่อน หากมี Ram น้อยกว่า 256 MB ควรใช้ Dirty Bit
 Non-Cacheable Block-1 Size กำหนดขนาดหน่วยความจำที่ห้ามทำแคช [OK หรือ Disabled]
 RAS to CAS Delay Time ค่าหน่วงเวลาก่อนที่จะสลับการทำงาน RAS-CAS ตั้งค่าน้อยที่สุด เท่าที่ทำงานได้
 CAS Before RAS การสลับลำดับการทำงานระหว่าง RAS และ CAS
 CAS Width in Read Cycle กำหนดค่าหน่วงเวลาก่อนที่ซีพียูจะเริ่มอ่านข้อมูลใน DRAM ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
 Interleave Mode ให้ซีพียูอ่าน - เขียนข้อมูลจาก DRAM ในโหมด Interleave
 Fast Page Mode DRAM ให้หน่วยความจำทำงานแบบ FPM โดยไม่ต้องอาศัย RAS และ CAS ซึ่งจะเร็วกว่า
 SDRAM CAS Latency Time หรือ SDRAM  Cycle Length ระยะรอบการทำงานของ CAS latency ใน SDRAM ตั้งค่าน้อยที่สุด หรือใช้ค่า 2 กับ RAM ชนิด PC100 และใช้ค่า 3 กับ RAM ชนิด ความเร็วแบบ PC66/83
 Read Around Write กำหนดให้ซีพียูอ่าน - เขียนข้อมูลจากหน่วยความจำได้ในคราวเดียวกัน [Enabled]
 DRAM Data Integrity Mode เลือก Non-ECC หรือ ECC ตามขนิดของ SDRAM
 System BIOS Cacheable การทำแคชของ System BIOS ROM #F0000-FFFFF [Enabled]
 Video BIOS Cacheable การทำแคชของ Video BIOS ROM [Enabled]
 Video RAM Cacheable การทำแคชของ Video RAM #A0000-AFFFF [Enabled ถ้าไม่มีปัญหา]
 Memory Hole at 15M-16M การจองพื้นที่สำหรับ ISA Adapter ROM [Enabled]
 Passive Release กำหนด CPU to PCI bus accesses ช่วง passive release [Enabled]
 Delayed Transaction เลือก Enable สำหรับ PCI version 2.1
 AGP Aperture Size (MB) กำหนดขนาดของ AGP Aperture กำหนดเป็นครึ่งหนึ่งของ RAM ทั้งหมด
   
 Power Management   
   
 Max Saving กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ สูงสุด
 User Define กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ตั้งค่าเอง
 Min Saving กำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ต่ำสุด
 PM Control by APM กำหนดให้ควบคุมการประหยัดพลังงานผ่านทางซอฟท์แวร์ APM
 Video Off Method กำหนดวิธีการปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน
    - V/H SYNC + Blank จะปิดการทำงาน V/H SYNC และดับจอภาพด้วย Blank Screen
    - DPMS สำหรับการ์ดแสดงผลและจอภาพที่สนับสนุนโหมด DPMS
    - Blank Screen จะทำการแสดงหน้าจอว่าง ๆ เมื่อประหยัดพลังงาน สำหรับจอรุ่นเก่า ๆ
 Video Off After ให้ปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานแบบ Stanby หรือ Suspend
 Standby Mode กำหนดระยะเวลาเมื่อพบว่าไม่มีการใช้งาน จะหยุดทำงานของอุปกรณ์บางส่วน
 Supend Mode จะตัดการทำงานบางส่วนคล้าย Standby Mode แต่หยุดอุปกรณ์ที่มากกว่า
 HDD Power Down กำหนดระยะเวลาก่อนที่ BIOS จะหยุดการทำงานของ HDD
 Resume by Ring เมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้
 Resume by Alarm เมื่อ Enabled สามารถตั้งเวลาทำงานจาก Suspend Mode ได้
 Wake Up On LAN เมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้
   
 Integrated Peripherals   
   
 IDE HDD BLOCKS MODE ให้ HDD อ่าน-เขียนข้อมูลได้ครั้งละหลาย Sector พร้อมกัน [Enabled]
 IDE PIO Mode... กำหนดการทำงานแบบ Programe Input/Output [ตั้งสูงสุดหรือ Auto]
 IDE UDMA... กำหนดการทำงานแบบ DMA หรือ UDMA [Enabled หรือ Auto]
 On-Chip PCI IDE กำหนดการใช้ช่องเสียบ HDD IDE ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
 USB Keyboard Support กำหนดให้ใช้ Keyboard แบบ USB [Enabled]
 Onboard FDC Controller กำหนดให้ใช้ช่องเสียบ Disk Drive ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
 Onboard Serial Port 1 กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM1 ค่าปกติคือ 3F8/IRQ4
 Onboard Serial Port 2 กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM2 ค่าปกติคือ 2F8/IRQ3
    - SPP (Standard Parallel Port) คือโหมดมาตรฐานเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าๆ
    - EPP (Enhanced Parallel Port) คือโหมด 2 ทิศทางเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่
 ECP MODE USE DMA คือกำหนด DMA สำหรับ Port ขนานแบบ ECP ซึ่งค่าปกติคือ 3
   

   การตั้งค่าอื่น ๆ

   Load BIOS Default Setup
   เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ให้เป็นแบบกลาง ๆ สำหรับอุปกรณ์ทั่ว ๆ ไป หรือเป็นการตั้งค่าแบบ Factory Setup ก็ได้

   Load BIOS Optimize Setup
   เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

   Password Setting
   ใช้สำหรับการตั้ง Password เมื่อต้องการจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS หรือเมื่อต้องการจะเปิดเครื่อง โดยปกติเมื่อใส่ Password ระบบจะให้ใส่    Confirm ซ้ำ 2 รอบเพื่อป้องกันการใส่ผิดพลาด (ไม่ใส่อะไรเลย คือการยกเลิก password)

   HDD Low Level Format
   เป็นเมนูสำหรับทำ Low Level Format ของ Hard Disk ซึ่งใช้สำหรับทำการ Format Hard Disk แบบระดับต่ำสุด ซึ่งถ้าหากไม่มีปัญหาอะไรกับ Hard Disk    ก็ไม่จำเป็นต้องทำ

   Exit with Save Setting หรือ Exit without Save Setting
   เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการตั้งค่าต่าง ๆ ของ BIOS แล้วต้องทำการ Save เก็บไว้ด้วยนะครับ ส่วนใหญ่เมื่อทำการ Save แล้วจะบูทเครื่องใหม่ ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้
   จึงจะใช้งานได้

   CPU Setup
   นอกจากนี้ ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นแบบ Jumper Free (ไม่ใช้ Jumper แต่จะใช้เมนูใน BIOS สำหรับตั้งค่าต่าง ๆ ) จะสามารถตั้งค่าของความเร็ว CPU, ค่า    multiple หรือ FSB, ค่าไฟ Vcore และอื่น ๆ อีกแล้วแต่รุ่นของเมนบอร์ดนั้น ๆ

บทความความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (RAID คืออะไร)

RAID คืออะไร?
         ตอนแรกก็ลังเลอยู่นานครับ ว่าจะเขียนบทความนี้ดีรึเปล่า เพราะมันก็ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่อะไรมากมาย แต่คิดว่าก็น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่รู้ หรืออาจจะยังสงสัยอยู่ อีกทั้งมีการสอบถามและเรียกร้องมาให้เขียนทางเมลล์ ก็เลยเขียนขึ้นมาให้อ่านกันครับ
         RAID (Redundant Array of Inexpensive Disk) คือการนำเอา Harddisk ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเสมือนเป็น harddisk ตัวเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือมีโอกาสที่จะสูญเสียข้อมูลน้อยลงในกรณีที่เกิดความผิดพลาดของ hardware (fault tolerance) กลุ่มของ harddisk ที่เอามาทำงานร่วมกันในเทคโนโลยี RAID จะถูกเรียกว่า disk array โดยระบบปฏิบัติการและ software จะเห็น harddisk ทั้งหมดเป็นตัวเดียว ซึ่งการทำ RAID นี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเก็บรักษาข้อมูลแล้ว ยังเป็นการประหยัดอีกด้วย เพราะว่ายิ่ง harddisk มีความจุมากเท่าไหร่ ราคาของมันก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้น สำหรับงาน ที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากๆ อย่าง Database Server ถ้าเราเลือกใช้ harddisk ความจุมากๆ เพียงตัวเดียว ในการเก็บข้อมูลหรือที่เรียกกันว่าเป็นการใช้ harddisk แบบ SLED หรือ Single Large Expensive Disk ราคาที่เราเสียไปกับ harddisk ตัวเดียวนั้น อาจจะไม่คุ้มค่าเท่ากับการใช้ harddisk ที่มีความจุต่ำกว่า (ซึ่งแน่นอนว่าราคาต้องถูกกว่าหลายเท่าด้วย) นำมาต่อเพื่อให้ทำงานร่วมกันหรือที่เรียกกันว่าเป็นการใช้ harddisk แบบ RAID

         ก่อนที่เราจะไปรู้จัก RAID แบบต่างๆ เรามารู้จักคำว่า Data Striping กันก่อนครับ

         Data Striping คือการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ แล้วนำแต่ละส่วนไปเก็บใน harddisk แต่ละตัว การทำ striping นี้จะช่วยให้การอ่าน หรือเขียนข้อมูลใน disk array มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะแต่ละไฟล์จะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ กระจายไปเก็บในส่วนที่ต่างกันของ harddisk หลายตัว โดย harddisk เหล่านั้นทำงานไปด้วยกันแบบขนาน (parallel) จึงทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเร็วกว่า harddisk แบบตัวเดียวอย่างแน่นอน

         และนี่คือ RAID แบบต่างๆ ที่มีความสามารถต่างกัน และถูกเอามาใช้ในงานที่แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้ใช้ครับ
RAID 0
         คือการเอา harddisk มากกว่า 1 ตัวมาต่อร่วมกันในลักษณะ non-redundant ซึ่ง RAID 0 นี้มีจุดประสงค์ เพื่อที่จะเพิ่มความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูล harddisk โดยตรง ไม่มีการเก็บข้อมูลสำรอง ดังนั้นถ้าฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่งเกิดเสียหาย ก็จะส่งผลให้ข้อมูลทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ทันที จากรูป จะเห็นว่าข้อมูลจะถูกแบ่งไปเก็บที่ harddisk ทั้ง 3 ตัว (กรณีที่เราใช้ harddisk 3 ตัวมาต่อ RAID 0 กัน) และถ้าเพิ่มจำนวน harddisk ใน array ให้มากขึ้น เวลาที่ใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลก็จะลดลงไปตามสัดส่วน ตามทฤษฎีแล้ว ถ้า disk array มี harddisk จำนวน N ตัว ก็จะทำให้อ่านหรือแขียนข้อมูลได้เร็วขึ้นเป็น N เท่าตัว แต่ด้วยเหตุผลและปัจจัยหลายประการ เช่น RAID controller, ความคลาดเคลื่อนของความเร็ว harddisk ทำให้ในความเป็นจริงอาจเร็วไม่ถึงตามทฤษฎี

         จุดเด่นของ RAID 0 คือความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล แต่ข้อเสียก็คือหาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะส่งผลกับข้อมูลทั้งระบบทันที
RAID 1
         RAID 1 มีอีกชื่อหนึ่งว่า disk mirroring จะประกอบไปด้วย harddisk 2 ตัวที่เก็บข้อมูลเหมือนกันทุกประการ เสมือนการสำรองข้อมูล หาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเกิดเสียหาย ระบบก็ยังสามารถดึงข้อมูลจาก harddisk อีกตัวหนึ่งมาใช้งานได้ตามปกติ สำหรับ RAID controller ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว การเขียนข้อมูลลง harddisk 2 ตัวในเวลาเดียวกัน จะใช้เวลาพอๆ กับการเขียนข้อมูลลง harddisk ตัวเดียว ในขณะที่เวลาในการอ่านก็จะน้อยลง เพราะ RAID controller จะเลือกอ่านข้อมูลจาก harddisk ตัวไหนก็ได้ โดยหากมีคำสั่งให้อ่านข้อมูล 2 ชุดในเวลาเดียวกัน ตัว RAID controller ก็สามารถประมวลผลคำสั่งเพื่ออ่านข้อมูลจาก harddisk ตัวหนึ่ง และคำสั่งอีกชุดนึงจาก harddisk อีกตัวนึงก็ได้

         จุดเด่นของ RAID 1 คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0 แม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะสูงขึ้นก็ตาม
 
RAID 2
         ใน RAID 2 นี้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกตัดแบ่งเพื่อจัดเก็บลง harddisk แต่ละตัวใน disk array โดยจะมี harddisk ตัวหนึ่งเก็บข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด (ECC - Error Checking and Correcting) ซึ่งเป็นการลดเปอร์เซ็นต์ที่ข้อมูลจะเสียหายหรือสูญเสียไป เมื่อมีการส่งข้อมูลไปบันทึกใน disk array จะเห็นได้ว่ามี harddisk ที่เอาไว้เก็บค่า ECC โดยเฉพาะ ถ้าเกิดการปรากฏว่า harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย ระบบก็จะสามารถสร้างข้อมูลทั้งหมดใน harddisk ตัวนั้นขึ้นมาได้ใหม่ โดยอาศัยข้อมูลจาก harddisk ตัวอื่นๆ และจากค่า ECC ที่เก็บเอาไว้ ซึ่งการทำ ECC นี้ส่งผลให้ harddisk ทั้งระบบต้องทำงานค่อนข้างมากทีเดียว และ RAID 2 นั้นจะเห็นได้ว่าต้องใช้ harddisk จำนวนมากในการเก็บค่า ECC ซึ่งทำให้ค่อนข้างสิ้นเปลืองครับ
RAID 3
         RAID 3 มีลักษณะที่คล้ายกับ RAID 2 แต่แทนที่จะตัดแบ่งข้อมูลในระดับ bit เหมือน RAID 2 ก็จะตัดเก็บข้อมูลในระดับ byte แทนและการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูล จะใช้ parity แทนที่จะเป็น ECC ทำให้ RAID 3 มีความสามารถในการอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีการต่อ harddisk แต่ละตัวแบบ stripe และใช้ harddisk ที่เก็บ parity เพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น แต่ถ้านำ RAID 3 ไปใช้ในงานที่มีการส่งผ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยๆ ซึ่ง RAID 3 ต้องกระจายข้อมูลไปทั่วทั้ง harddisk จะทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า คอขวด ขึ้นกับ harddisk ที่เก็บ parity เพราะไม่ว่าข้อมูลจะมีขนาดใหญ่ขนาดไหน RAID 3 ต้องเสียเวลาไปสร้างส่วน parity ทั้งสิ้น ยิ่งข้อมูลมีขนาดเล็กๆ แต่ parity ต้องสร้างขึ้นตลอด ทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บเสร็จก่อนการสร้าง parity ทั้งระบบต้องมารอให้สร้าง parity เสร็จก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้นั่นเอง

         RAID 3 เหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ เช่นงานตัดต่อ Video เป็นต้น
RAID 4
         RAID 4 มีลักษณะโดยรวมเหมือนกับ RAID 3 ทุกประการ ยกเว้นเรื่องการตัดแบ่งข้อมูลที่ทำในระดับ block แทนที่จะเป็น bit หรือ byte ซึ่งทำให้การอ่านข้อมูลแบบ random ทำได้รวดเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาคอขวดที่กล่าวใน RAID 3 ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นเหมือนเดิมครับ
RAID 5
         มีการตัดแบ่งข้อมูลในระดับ block เช่นเดียวกับ RAID 4 แต่จะไม่ทำการแยก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเพื่อเก็บ parity ในการเก็บ parity ของ RAID 5 นั้น จะกระจาย parity ไปยัง harddisk ทุกตัว โดยปะปนไปกับข้อมูลปกติ จึงช่วยลดปัญหาคอขวด ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญใน RAID 3 และ RAID 4 คุสมบัติอีกอันหนึ่งที่น่าสนใจของ RAID 5 คือ เทคโนโลยี Hot Swap คือเราสามารถทำการเปลี่ยน harddisk ในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับงาน Server ต่างๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่อง
RAID 6
         RAID 6 อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 5 เกือบทุกประการ แต่มีการเพิ่ม parity block เข้าไปอีก 1 ชุด เพื่อยอมให้เราทำการ Hot Swap ได้พร้อมกัน 2 ตัว (RAID 5 ทำการ Hot Swap ได้ทีละ 1 ตัวเท่านั้น หาก harddisk มีปัญหาพร้อมกัน 2 ตัว จะทำให้เสียทั้งระบบ) เรียกว่าเป็นการเพิ่ม Fault Tolerance ให้กับระบบ โดย RAID 6 เหมาะกับงานที่ต้องการความปลอดภัยและเสถียรภาพของข้อมูลที่สูงมากๆ
RAID 7
         RAID 7 อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 4 โดนเพิ่มคุณสมบัติบางอย่างเข้าไป เพื่อทำให้ harddisk แต่ละตัวทำงานอิสระต่อกัน ไม่จำเป็นต้องรอให้ harddisk ตัวใดตัวหนึ่งทำงานเสร็จก่อน (ซึ่งทำให้เกิดปัญหาคอขวดใน RAID 4) โดยการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง จะทำการส่งผ่าน X-Bus ซึ่งเป็นบัสที่มีความเร็วสูง RAID 7 ยังมีหน่วยความจำแคชหลายระดับในตัว RAID Controller เพื่อแยกการทำงานให้อิสระต่อกัน โดยจะมี Real-Time Operating System อยู่ภายในส่วนที่เรียกว่า Array Control Processor ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลบนบัส

         RAID 7 เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ เชื่อมต่อได้สูงสุดถึง 12 host 48 drives และราคาของระบบ RAID 7 ค่อนข้างที่จะสูงมาก ด้วย RAID 7 เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท Storage Computer Corporation ทำให้ผู้ใช้งาน RAID 7 ไม่สามารถปรับแต่งอะไรกับเครื่องเลย ทำให้ RAID 7 ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
RAID 10
         RAID 10 หรือ RAID 0+1 เป็นการผสมผสานระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย ข้อเสียของ RAID 10 คือการเพิ่มจำนวน harddisk ในอนาคตเป็นไปได้ยาก เพราะ harddisk แต่ละตัวมี mirror เป็นของตัวเอง ยิ่งเพิ่ม harddisk เพื่อใช้งานก็ต้องเพิ่ม harddisk เพื่อ backup ไปด้วย เหมาะสำหรับ Server ที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมาก และไม่ต้องการความจุมากนัก
RAID 53
         RAID 53 มีอัตราความเร็วการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างสูง เพราะมีพื้นฐานการทำงานของ RAID 0 อยู่ และมีการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ เหมือน RAID 3 ซึ่งแน่นอนว่ายังมีปัญหาคอขวดด้วย นอกจากนี้ RAID 53 ยังสามารถทำ Hot Swap ได้เหมือนใน RAID 5 ครับ

บทความความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ศัพท์ไอทีน่ารู้: LSASS.EXE.)

ศัพท์ไอทีน่ารู้: LSASS.EXE.


เวลาเปิดทาสก์แมแนเจอร์ (task manager กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del) คุณอาจจะเคยสังเกตเห็นแอพพลิเคชันตัวหนึ่งอยู่เป็นประจำชื่อว่า LSASS.EXE ดูชื่อก็ไม่คุ้นเลย ผู้ใช้บางคนก็ซุกชนไปปิดมัน เพราะคิดว่า เป็นพวกไวรัส หรือเปล่า ปรากฎว่า ระบบก็ไม่ยอมให้ปิดอีกต่างหาก
ความจริง lsass.exe เป็นไฟล์แอพพลิเคชันที่มีความสำคัญมากสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows โดยชื่อ LSASS จะย่อมาจาก Local Security Authority Subsystem Service ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ ช่วยจัดการระบบรักษาความปลอดภัย และล็อกอินของยูสเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถพบไฟล์นี้ได้ในโฟลเดอร์ c:\windows\system32 หรือ c:\winnt\system32 ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในขณะนั้น ผู้ใช้สงสัยว่า เขาควรจะปิดการทำงานของ lsass หรือไม่? เมื่อทราบความหมายของมันแล้วคงรู้คำตอบนะครับว่า ไม่ควรอย่างยิ่ง ที่สำคัญคุณควรจะปล่อยให้มันทำงานเพื่อช่วยให้ระบบอยู่ในความปล อดภัย ข้อเท็จจริงก็คือ ถ้าคุณพยายามปิดมัน (เช่นเดียวกับที่คุณปิดแอพฯ อื่นๆ ในทาสก์บาร์) ทาสก์แมแนเจอร์ก็จะไม่ยอมให้ทำเช่นนั้นอยู่ดี อย่างไรก็ตาม หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีอาการล่มอยู่บ่อยๆ เนื่องจากไฟล์ lsass.exe นั่นอาจหมายความว่า มีไวรัส หรือสปายแวร์ติดเข้าไปในระบบแล้วก็ได้ เนื่องจากปี 2004 พบช่องโหว่ใน lsass ทำให้วายร้ายอย่างหนอนไวรัสที่ชื่อว่า Sasser ใช้ในการโจมตีได้ ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ผู้ใช้รู้สึกกังวลเวลาที่พบเห็นไฟล์ lsass โดยมักเข้าใจผิดคิดว่า ติดไวรัสเข้าไปแล้ว แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า lsass เคยถูกมองเป็นผู้ต้องหาในช่วงนั้น ซึ่งปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้ถูกกำจัดหมดไปแล้ว แต่นั่นหมายความว่า คุณได้อัพเดต Windows อย่างสม่ำเสมอนะครับ นอกจากนี้ แนะนำให้คุณติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัยให้กับคอมพิวเ ตอร์ที่ใช้ด้วยครับ
จากเว็บไซต์ ARiP.co.th

ศัพท์ไอทีน่ารู้:
Wi-Fi
โดย นิตยสาร Computer.Today

วิถีชีวิตยุคใหม่ของคนเมือง ที่ไม่ต้องการทำงานที่ไม่ยึดติดกับที่ อินเทอร์เน็ตไร้สายจะเหมาะกับคุณมากที่สุด เพราะว่าสามารถใช้งานได้ทุกอย่างไม่ว่าจะดาวน์โหลดไฟล์ หรือค้นหาข้อมูล ก็เพียงแค่มองหาสัญลักษณ์ Wi-Fi บนอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ก หรือ โทรศัพท์มือถือ หากมีสัญลักษณ์ Wi-Fi ก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายได้แล้ว แต่คุณก็อาจจะยังสงสัยว่า จริงๆแล้ว Wi-Fi มันคืออะไรกันแน่?
Wi-Fi
หรือในชื่อเต็มๆว่า Wireless-Fidelity เป็นเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สายที่ตอนนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินสายเหมือนกับเครือข่ายแลนแบบเดิ มๆ เทคโนโลยีหรือมาตรฐานของ Wi-Fi ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ 802.11 ซึ่งมีอายุมากกว่า 7 ปีแล้ว โดยเป็นมาตรฐานที่ถูกอนุมัติให้ใช้จาก IEEE(the Institute of Electrical and Electronics Engineers) เพื่อให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้บนมาตรฐานการทำง นแบบเดียวกันนั่นเอง ในปัจจุบัน ทั่วกรุงเทพฯ ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่โรงพยาบาล ฯลฯ ได้เริ่มมีบริการ Access Point สำหรับใช้งาน Wi-Fi ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ จนแทบจะพูดได้ว่า คุณสามารถมีชีวิตแบบไร้สายได้ทุกที่ทุกเวลากันเลยทีเดียว

ศัพท์ไอทีน่ารู้: ActiveX


ActiveX
เป็นชื่อที่ Microsoft ตั้งให้กับกลุ่มของเทคโนโลยี object - oriented programming และเครื่องมือหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ Component Object Model (COM) เมื่อใช้ในระบบเครือข่ายด้วยไดเรคทอรี และการสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ COM เปลี่ยนมาเป็น Distributed Component Object Model (DCOM) ซึ่งสำคัญในการสร้าง เมื่อเขียนโปรแกรมใช้สภาพแวดล้อมของ ActiveX คือ component ซึ่งโปรแกรมจะเพียงพอในตัวเอง ซึ่งสามารถเรียกใช้ในทุก ๆที่ ของเครือข่าย ActiveX (โดยเป็นเครือข่ายของระบบ windows และ Macintosh) โดย component รู้จักในชื่อของ ActiveX control นอกจากนี้ ActiveX เป็นคำตอบของ Microsoft ต่อ เทคโนโลยี Java จาก Sun Microsystems และ ActiveX control สามารถเปรียบเทียบโดยคร่าว ๆ ได้กับ Java applet

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows จะสังเกตเห็นไฟล์ใน windows ที่มีสกุล "OCX" ซึ่ง OCX ใช้สำหรับ Object linking and embedding control โดย Object linking and Embedding (OLE) เป็นเทคโนโลยีของ Microsoft ที่ใช้กับระบบเอกสารแบบ compound document เช่น window desktop นอกจากนี้ Component Object Model ได้เป็นส่วนของ OLEในฐานะเป็นส่วนที่อยู่ในแนวคิดที่กว้างกว่า Microsoft ใช้ศัพท์ ActiveX control " แทนที่ OCX สำหรับอ๊อบเจคแบบ component

ความได้เปรียบประการหนึ่ง ของ component คือ สามารถใช้ใหม่ได้โดยโปรแกรมประยุกต์ (ด้วยการอ้างอิง component แบบ container ) ส่วนอ๊อบเจค COM (ActiveX control) สามารถสร้างได้หลายภาษา หรือ เครื่องมือพัฒนา เช่น C++, Visual Basic หรือ Power Builder หรือคำสั่งสคริปต์ VBScript

ปัจจุบัน ActiveX control สามารถใช้กับ Windows 95/98/NT และ Macintosh ซึ่ง Microsoft มีแผนในพัฒนา ActiveX control สำหรับ UNIX

ActiveX control

ActiveX control
เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี ActiveX ของ Microsoft

ActiveX control
เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมอ๊อบเจคที่สามารถใช้ซ้ำ (reused) ได้จากโปรแกรมประยุกต์ภายในคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย เทคโนโลยีสำหรับการสร้าง ActiveX control เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี ActiveX ของ Microsoft โดยส่วนสำคัญ คือ Component Object Model (COM) การทำงานของ ActiveX control สามารถ ดาวน์โหลด เป็นโปรแกรมเล็ก หรือภาพเคลื่อนไหวสำหรับเว็บเพจ และสามารถใช้สำหรับงานพื้นฐานทั่วไป โดยโปรแกรมประยุกต์ในสภาพแวดล้อมของ Windows รุ่นล่าสุด หรือ Macintosh โดยทั่วไป ActiveX control ได้แทนที่ OCX (Object Linking and Embedding Custom controls) นอกจากนี้ ActiveX control สามารถเทียบเคียงอย่างคร่าว ๆ ในแนวคิดและการใช้กับ Java applet


ศัพท์ไอทีน่ารู้: Virtual Private Network (VPN)
Virtual Private Network หรือที่เรียกย่อๆ ว่า VPN หากอธิบายความหมายอย่างตรงไปตรงมามันก็คือ การสร้างเครือข่ายส่วนตัวโดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย สาธารณะ เพื่อเชื่อมต่อการทำงานระหว่างผู้ใช้ หรือกลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ไกลออกไปเข้าด้วยกัน
สำหรับเครือข่ายสาธารณะที่พูดถึงในที่นี้ แน่นอนว่า มันก็คือ อินเทอร์เน็ต นั่นเอง ดังนั้นหากจะกระชับความหมายของ VPN ให้สั้นลงไป เครือข่าย VPN ก็คือ การสร้างการเชื่อมต่อแบบเสมือน โดยใช้เส้นทางผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของเครือข่ายส่ วนตัว ยกตัวอย่างเช่น การที่บริษัทแห่งหนึ่ง หรือแม้กระทั่งบ้านของคุณเองจะสามารถเซตอัพ VPN เพื่อถ่ายโอนข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อลักษณะนี้ไปยังคอมพิวเตอร์ท ี่อยู่ในสถานที่ห่างไกลออกไป หรือเฉพาะบุคคล (ผู้ใช้คนหนึ่ง) ที่คุณต้องการ (ราวกับว่า คุณสามารถเปลี่ยนเครือข่ายสาธารณะอย่างอินเทอร์เน็ต มาใช้ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายส่วนตัวของคุณได้นั่นเอง) เครือข่ายไร้สายที่ใช้ฮอตสปอตเป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งของการท ำ VPN เนื่องจากคุณสามารถใช้บริการฮอตสปอตตามสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้เครือข่ายสาธารณะอย่างอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้าไ ปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของคุณ (หรือเซิร์ฟเวอร์ของทางบริษัท) เพื่อทำงานต่างๆ ได้นั่นเอง
โครงสร้าง VPN อย่างง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เครือข่ายของธุรกจผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันบริษัทใหญ่ๆ นิยมใช้ VPN กันมากขึ้น เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมกับเค รือข่ายของบริษัท เนื่องจากความง่าย และความคุ้มค่าในการเซตอัพเครือข่ายลักษณะนี้นั่นเอง VPN สามารถให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานได้ทุกคน หากมันได้รับการออกแบบ และวางแผนมาเป็นอย่างดี ซึ่งมันมีข้อกำหนดบางอย่างที่ทุก VPN ควรจะมี เพื่อให้มันสามารถให้บริการได้อย่างเหมาะสมกับผู้ใช้ทุกคน ดังนั้น VPN ควรจะมีคุณสมบัติการทำงานในเรื่องของความปลอดภัย เสถียรภาพ ความสามารถในการขยายเครือข่าย การบริหารจัดการ และการควบคุมนโยบายการใช้งาน ซึ่งหากขาดคุณสมบัติที่ช่วยป้องกัน และดูแลการใช้เครือข่ายในลักษณะนี้แล้ว คุณจะไม่สามารถควบคุมการใช้ VPN ได้
ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่าย VPN ของบริษัทขนาดใหญ่
VPN ยังช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถขยายขอบเขคความสามารถในการเชื่อมต ่อไปได้ทั่วโลก ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณสามารถเชื่อมต่อเข้าไปยังอินเทอร์เน็ตจากสถานที่แตกต่างกัน เพื่อเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น องค์กรต่างๆ ที่ใช้เครือข่ายลักษณะนี้จะช่วยลดต้นทุน (ทั้งเงิน และเวลา) ในการเชื่อมต่อระหว่างไซต์งานต่างๆ ตลอดจนการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างประเทศลงได้มากทีเดียว ซึ่งทำให้ผลิตภาพที่ได้สูงขึ้น VPN จะมีโครงสร้างเครือข่ายที่ง่าย และสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์นอกส ถานที่ในการทำงานร่วมกับองค์กร
จากเว็บไซต์ ARiP.co.th


ศัพท์ไอทีน่ารู้: PS/2 Port
เชื่อว่า คุณผู้อ่านหลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว แต่ทราบจริงๆ หรือไม่ว่า พอร์ต PS/2 คืออะไรกันแน่? และมันสำคัญ อย่างไร เรามาทำความรู้จักกับพวกมันมากขึ้นอีกสักนิดดีกว่าครับ
โดยทั่วไป พอร์ต PS/2 จะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของช่องเชื่อมต่อสำหรับเมาส์ เนื่องมันเป็นพอร์ตพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเมาส์ หรือคีย์บอร์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์ พอร์ตชนิดนี้จะทำงานร่วมกับปลั๊ก DIN ขนาดเล็กที่ภายในมีเข็มสัญญาณ 6 เข็ม เรียงตัวกันเป็นวง นอกจากนี้เราสามารถจดจำหน้าที่ของพอร์ต PS/2 จากสีของมันก็ได้ โดยพอร์ตที่เชื่อมต่อกับเมาส์จะใช้สีเขียว ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง
ช่องต่อ PS2 สำหรับเมาส์จะเป็นสีเขียว ส่วนคีย์บอร์ดสีม่วง
พอร์ตอีกชนิดหนึ่งที่มีการทำงานใกล้เคียงกับ PS/2 ก็คือ พอร์ตสื่อสารแบบอนุกรม (serial port) ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้เหมือนกัน เช่น โมเด็ม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากพอร์ตอนุกรมจะมีขีดความสามารถในการทำงานที่เหน ือกว่า ดังนั้น พอร์ต PS/2 จึงเหมาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่า และมีการทำงานที่ไม่ซับซ้อนอย่างเช่น เมาส์ และคีย์บอร์ด เท่านั้น พอร์ต PS/2 ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM และคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีพอร์ต PS/2 ให้ 2 ช่อง เพื่อเชื่อมต่อกับเมาส์ และคีย์บอร์ด นั่นเอง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพอร์ตยอดฮิตที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งรวมถึงเมาส์ และคีย์บอร์ดก็คงจะหนีไม่พ้น USB ครับ
จากเว็บไซต์ ARiP.co.th


ศัพท์ไอทีน่ารู้: E-mail Scams

พวกเราต่างทราบกันดีว่า ทุกวันนี้มีอีเมล์ต้มตุ๋น (E-mail Scams) ที่หลอกลวงด้วยเล่ห์อุบายต่างๆ แพร่กระจายอยู่บนอินเทอร์เน็ตเต็มไปหมด แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า อีเมล์ฉบับไหนหลอกลวง และอีเมล์ฉบับไหนจริง สำหรับเทคนิคง่ายๆ ที่ได้เคยแนะนำกันอยู่บ่อยๆ ก่อนหน้านี้ก็คือ คุณไม่ควรเปิดไฟล์แนบใดๆ จากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก ซึ่งคำแนะนำที่ว่านี้ยังคงใช้ได้จริงในปัจจุบัน แต่หากอีเมล์ที่คุณได้รับเกิดมีข้อความที่กระตุ้นความอยากรู้อย ากเห็น ตลอดจนความโลภที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใต้สำนึกของปถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ ล่ะ คุณคิดว่าจะทำอย่างไรกับอีเมล์ฉบับนั้น?
ยกตัวอย่างเช่น อีเมล์เล่ห์อุบาย (E-mail Scams) ฉบับหนึ่งที่กำลังแพร่กระจายรวดเร็วมากก็คือ Nigerian หรือ 419 อีเมล์เหล่านี้จะล่อลวงผู้รับโดยบอกคุณว่า พวกเขามีความจำเป็นต้องโอนเงินจำนวนมากผ่านเข้าไปในบัญชีธนาคาร ของคุณ บางฉบับบอกกับผู้รับว่า เงินดังกล่าวมาจากสมาชิกครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้ว เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า มันเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ และเสียเวลาที่จะเอาตัวเข้าไปยุ่งกับเรื่องนี้ แต่เชื่อไหมครับว่า มีผู้รับหลายรายทีเดียวติดตามด้วยความสนใจ แถมยังส่งหมายเลขบัญชีให้ตามที่อีเมล์เหล่านี้ร้องขออีกต่างหาก
การตอบอีเมล์พวกนี้ไม่ได้สร้างความร่ำรวยให้กับคุณแม้แต่นิดเดี ยว สิ่งที่คุณควรทำกับอีเมล์พวกนี้มีเพียงอย่างเดียวนั่นคือ ลบพวกมันออกไปซะซึ่งถ้าคุณเมล์ตอบกลับไป เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ คุณจะถูกถามบัญชีธนาคาร และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ โดยนักต้มตุ๋นจะพยายามอย่างดีที่สุด เพื่อโน้มน้าวให้คุณเชื่อว่า พวกเขาเป็นตัวจริง (รวยจริง) แต่แท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ผู้ใช้หลายรายที่ติดกับหลงเชื่อตอบเมล์กลับไป ก็จะประสบกับปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เนื่องจากนักต้มตุ๋นเหล่านี้จะนำข้อมูลของคุณไปใช้ในทางมิชอบ พึงระลึกว่า แม้อีเมล์ที่ได้รับจะดูเป็นทางการก็ตาม แต่มันอาจจะไม่ใช่ของจริงก็ได้ อย่าใส่ใจกับอีเมล์พวกนี้ หรือที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ลบพวกมันออกไปจากคอมพิวเตอร์ของคุณอย่างรวดเร็ว ย้ำอีกครั้งนะครับว่า ไม่มีของฟรีในโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ แน่นอน

จากนิตยสารคอมพิวเตอร์.ทูเดย์


ศัพท์ไอทีน่ารู้: XHTML และ DHTML
สมัยแรกๆที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ตใช้กันนั้น เรามักจะคุ้นเคยกับภาษา HTML แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้น เราคงไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวในการท่องเว็บอีกแล้ว ด้วยทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้คนคิดค้นพัฒนาโทรศัพท์มือ ถือ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่ใช้งานเว็บไซต์ได้ด้วย จึงเป็นที่มาของการพัฒนาภาษา HTML มาจนถึง XHTML
XHTML
ย่อมาจากคำว่า eXtensible HyperText Markup Language ซึ่งเกิดจากการเอา XML และ HTML มารวมกัน ส่วนคำสั่งต่างๆนั้นก็เป็นอย่างเดิมๆของ HTML เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการเขียนโครงสร้างภาษาให้สมบูรณ์มากขึ้นเ ท่านั้นเอง ข้อดีของการที่เราจะหันมาใช้ XHTML ก็คือ ความสามารถที่ยึดหยุ่นได้ทำให้ประมวลผลง่ายขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ต่างๆที่สามารถเล่นเน็ตได้นั่นเอง DHTML (Dynamic HTML) เป็นอีกหนึ่งภาษาที่สามารถใช้งานร่วมกับภาษาสคริปต์อื่นๆได้ดี ไม่ว่าจะเป็น Javascript, VBscript หรือ CSS ทำให้เหมาะแก่การนำภาษาเหล่านี้ไปใช้ทำเว็บไซต์พอสมควร เพราะเราไม่จำเป็นต้องไปสร้างโปรแกรมอื่นให้ยุ่งยาก ก็สามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์ให้ดูสวยงามทันตา แถมยังทำให้เว็บไซต์เป็นที่ดึงดูดมากขึ้นอีก และจะมีเพียง Internet Explorer และ Netscape Communicator ที่สนับสนุนการใช้งาน DHTML

จากเวป นิตยสาร PC Magazine Thailand


ศัพท์ไอทีน่ารู้: Streaming
เชื่อว่า คุณผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเคยพบเห็นคำว่า สตรีมมิ่ง” (streaming) ตามสื่อต่างๆ มากมาย และผมก็เชื่ออีกเช่นกันว่า ยังคงมีผู้อ่านอีกหลายๆ ท่านที่เป็นมือใหม่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำๆ นี้ วันนี้นายเกาเหลาขออนุญาตทำความเข้าใจเรื่องนี้กับคุณผู้อ่านทุ กท่านนะครับ
โดยพื้นฐาน คำว่า สตรีมมิ่งจะถูกนำไปใช้ในกรณีที่คุณสามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียบนเครื่องคอ มพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องมีการดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตจนครบไฟล์ เนื่องจากการดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียทั้งไฟล์จะใช้เวลาค่อนข้า งมาก ดังนั้นการเล่นไฟล์มัลติมีเดียจากอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิค สตรีมมิ่งจะทำให้สามารถแสดงผลข้อมูลได้ก่อนที่ไฟล์ทั้งหมดจะถูกส่งผ่านเข ้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั่นเอง สำหรับการทำให้เทคนิคสตรีมมิ่งสามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียได้อย่งสมบูรณ์นั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต้องประมวลประมวลผลได้เร็วพอด้วย เนื่องจากข้อมูลที่ถูกส่งเข้ามายังเครื่องนอกจากจะต้องได้รับกา รจัดเก็บเข้าไว้ในหน่วยความจำบัฟเฟอร์แล้ว มันยังต้องมีการแปลงข้อมูลเหล่านั้น เพี่อนำไปแสดงผลในรูปของเสียง หรือวิดีโอ อีกด้วย ซึ่งถ้าขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งล่าช้า คุณก็จะสังเกตเห็นได้ทันทีว่าวิดีโอ หรือเสียงมีการกระตุก หรือแน่นิ่งเป็นพักๆ (การกำหนดขนาดของหน่วยความจำบัฟเฟอร์ ความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต เป็นตัวแปรสำคัญในการปรับแต่งให้การเล่นสตรีมมิ่งบนเครื่องคอมพ ์ของคุณราบรื่น)
ตัวอย่าง ของการใช้สตรีมมิ่งที่คุณสามารถพบเห็นได้ก็เช่น เวลาที่คุณเข้าไปในเว็บไซต์ศิลปินเพลง แล้วพบว่า มีตัวอย่างเพลงใหม่ให้ลองฟัง ซึ่งพอคลิกปุ๊บภายในอึดใจก็ได้ยินเพลงนั้นเล่นออกมา นั่นแสดงว่า ทางเว็บไซต์ได้ใช้เทคนิคการทำสตรีมมิ่งเพื่อเล่นเพลงใหม่ให้คุณ ได้ทดลองฟังทันที ที่เล่นเพลงได้เร็วก็เนื่องจากมันไม่ใช่เป็นการดาวน์โหลดไฟล์เพ ลงใหม่ทั้งเพลงเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ทางเว็บไซต์ก็จะให้ได้ฟังแค่บางส่วนของเพลงเท่านั้ น ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้สึกให้เกิดความต้องการฟังทั้งเพลง นอกจากนี้ ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ที่เล่นใน Real Audio หรือ QuickTime ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสตรีมมิ่ง ซึ่งข้อมูลที่สตรีมมิ่งเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่อยู่ใน รูปของไฟล์ที่นำไปใช้งานต่อได้ แต่ถ้าคุณดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นแชร์แวร์ หรือฟรีแวร์จากอินเทอร์เน็ต ไฟล์เหล่านี้ไม่ใช่ข้อมูลสตรีมมิ่ง เนื่องจากมันได้ผ่านกระบวนการดาวน์โหลดไฟล์ที่สมบูรณ์ เพื่อสามารถนำไฟล์ไปใช้งานต่อได้นั่นเอง

จากเว็บไซต์ ARiP.co.th


ศัพท์ไอทีน่ารู้: Cross Site Scripting
คอลัมน์ศัพท์ไอทีน่ารู้วันนี้ขอเสนอคำว่า Cross Site Scripting (XSS) ซึ่งคำนี้แฮคเกอร์ส่วนใหญ่จะเข้าใจดี เพราะมันเป็นเทคนิคที่ใช้ในการจับตาดูเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัย
โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ต้องมีการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมใน การเข้าถึง และไม่มีการตรวจสอบข้อมูล เมื่อพวกเขากลับเข้ามาเยี่ยมชมซ้ำอีกครั้งในภายหลัง แฮคเกอร์จะแอบสร้างลิงค์ขึ้นมาใหม่บนเว็บไซต์เป้าหมายด้วยโค้ด หรือสคริปท์โดยอาศัยช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต ์นั้น แล้วแอบขโมยเอาข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกเข้าไปโดยที่ผู้ใช้เข้าใจว่า ได้ให้ข้อมูลสำคัญกับทางเว็บไซต์ที่กำลังติดต่ออยู่ในขณะนั้น การโจมตีด้วยเทคนิค Cross Site Scripting แฮคเกอร์สามารถสร้าง และส่งลิงค์ไปให้กับเหยื่อ (ด้วยชื่อของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และต้องมีการป้อนข้อมูลเพื่อเป็นสมาชิก) ผ่านทางอีเมล์, เว็บบอร์ด เป็นต้น เมื่อแฮคเกอร์ได้ข้อมูลของคุณไปแล้ว พวกมันก็จะสวมรอยด้วยการใช้ข้อมูลของคุณล็อกออนเข้าไปยังเว็บไซ ต์ต่างๆ ได้
สังเกตุหน้าเว็บนี้จะประกอบด้วยข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ MyBank กับแบบฟอร์มของแฮคเกอร์
กล่าวโดยสรุปก็คือ Cross Site Scripting เป็นเทคนิคการส่งลิงค์ที่ฝังโค้ด หรือสคริปท์การทำงานของแฮคเกอร์เข้าไป เพื่อให้ปรากฎบนหน้าเว็บของเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ โดยหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลสำคัญแล้วส่งกลับมาให้แฮคเกอร์แทนที ่จะผ่านเข้าไปในเว็บไซต์ที่เรากำลังเข้าไปเยี่ยมชมอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง